วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2552

easy asthma นพ.วัชรา ศรีสวัสดิ์ และงานบริการโรงพยาบาลศรีสมเด็จ

















































Introduction of Easy Asthma Clinic

นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ พบ. Ph.D
Introduction of easy asthma clinic/real life
โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย (1-3) และประเทศต่างๆทั่วโลก(4, 5) ในปัจจุบันความรู้เรื่องโรคหืดได้พัฒนาไปมาก ทำให้แพทย์มีความเข้าใจในพยาธิสภาพ และกลไกสำคัญในการเกิดโรคหืด (6, 7) ซึ่งยังผลให้การรักษาโรคหืดในปัจจุบันแตกต่างไปจากในอดีตเป็นอย่างมาก(8)
เพื่อให้การรักษาโรคหืดได้ผลดีขึ้นและมีมาตรฐานเดียวกันจึงได้มีการจัดทำแนวทางการรักษาโรคหืดขึ้น ซึ่งได้มีการเริ่มทำที่ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ก่อนใน พ.ศ.2532(9) ต่อมาก็มีการทำในลักษณะเดียวกันในหลายประเทศ เช่น ที่อังกฤษ(10, 11) และอเมริกา(12) เนื่องจากว่าการรักษาโรคหืดในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันมากเพราะปัจจัยหลายๆอย่าง องค์การอนามัยโลก(WHO) ร่วมกับ National Heart Lung and Blood Institute (NHLBI) ของอเมริกาจึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจาก 17 ประเทศมาร่วมกันเขียนแนวทางการรักษาโรคหืดขึ้นเพื่อให้การรักษาโรคเป็นไปในทางเดียวกันทั่วโลก เรียกว่า Global Initiative for Asthma (GINA)(4) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะมีหลายประเทศที่ได้นำเอา GINA guidelines ไปเป็นแนวทางในการทำแนวทางการรักษาโรคหืดของตนเองรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งแนวทางการรักษาโรคหืดในประเทศไทยได้จัดทำขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537(13) โดยความร่วมมือของสมามอุรเวชช์ สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา และชมรมโรคหอบหืด และได้มีการปรับปรุงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2540 (14) และครั้งล่าสุดเมื่อพ.ศ. 2547(15)
เป้าหมายในการรักษาโรคหืดที่ GINA guidelines ได้ตั้งไว้คือ ผู้ป่วยโรคหืดไม่ควรจะมีอาการหอบ ไม่ต้องตื่นขึ้นมาหอบในช่วงกลางคืน ไม่ต้องไปห้องฉุกเฉินเพราะอาการหอบ มีสมรรถภาพปอดเป็นปกติ โดยปราศจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยา โดยแนวทางการรักษาโรคหืดในปัจจุบันได้เปลี่ยนไปเนื่องจากพยาธิกำเนิดของโรคหืดในปัจจุบันเชื่อว่ามีการอักเสบของหลอดลมทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้นหลอดลมก็จะตีบ (รูปที่ 1) ดังนั้นการรักษาโรคหืดในปัจจุบันจะให้ยาที่ลดการอักเสบของหลอดลมคือยาพ่นเสตียรอยด์เป็นหลัก แทนการใช้ยาขยายหลอดลม

หลังจากมีการนำเอา GINA guideline มาใช้หลายปี ได้มีการสำรวจผลการรักษาโรคหืดในประเทศไทย (16) กลับพบว่าการควบคุมโรคหืดยังต่ำกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้เป็นอย่างมาก โดยพบว่า 14.8% ของผู้ป่วยโรคหืด ต้องมีอาการหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และ 21.7% ที่เคยมาห้องฉุกเฉินในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งที่มีคุณภาพชีวิตด้อยกว่าคนปกติเพราะไม่สามารถทำกิจกรรมได้เช่นคนปกติ สาเหตุสำคัญก็เพราะว่าผู้ป่วยส่วนมากไม่ได้รับการรักษาตามที่แนวทางการรักษาได้ให้คำแนะนำไว้โดยพบว่าผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทยที่ได้รับยาพ่นเสตียรอยด์ มีเพียง 6.7% และผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดมีเพียง 28% แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของการพยามนำเอา GINA guideline ไปใช้งาน ซึ่งผลการสำรวจก็เป็นไปในแนวเดียวกันกับผลการสำรวจในอเมริกา(17) ยุโรป(18)
ปัจจัยที่ทำให้การรักษาโรคหืดในประเทศไทยไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร มีดังนี้
1. แพทย์ให้ความสนใจปัญหาโรคหืดน้อย ถึงแม้ว่าในแต่ละปีมีคนไข้โรคหืดที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการหอบรุนแรงมากกว่า 100,000 คนเพราะว่าโรคหืดมักจะรักษาง่าย และไม่ค่อยมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคหืด
2. ผู้ป่วยโรคหืดส่วนใหญ่พอใจกับอาการหอบที่ตนมีอยู่ จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยโรคหืด (16) พบว่าผู้ป่วยโรคหืดส่วนมากจะคิดว่าการควบคุมโรคหืดของตนเองดีแล้วแม้ว่าจะมีอาการหอบเกือบทุกวัน เลยไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา
3. แนวทางในการรักษาโรคหืดในปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมาก จากเดิมที่เข้าใจว่าโรคหืดเป็นโรคที่มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหลอดลมที่โตขึ้นและหดตัวมากกว่าปกติและคิดว่าโรคหืดเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ จึงรักษาโรคหืดโดยการใช้ยาขยายหลอดลมเป็นหลักเฉพาะเวลาที่มีอาการเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเข้าใจว่าโรคหืดมีการอักเสบของหลอดลมทำให้หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นผิดปกติ ดังนั้นโรคหืดจึงเป็นโรคที่รักษาได้ด้วยการให้ยาลดการอักเสบของหลอดลมซึ่งได้แก่ ยาพ่นเสตียรอยด์ (inhaled corticosteroids) เป็นหลักแทนการใช้ยาขยายหลอดลม ทำให้แพทย์เปลี่ยนแนวคิดไม่ทัน
4. แนวทางในการรักษาโรคหืดยุ่งยากซับซ้อนทำให้ยากต่อการปฏิบัติตาม เช่น การจำแนกความรุนแรงของโรคหืด และการให้ยารักษาตามระดับความรุนแรงของโรค
5. แพทย์ไม่มีเวลามากพอในการดูแลคนไข้โรคหืด ปกติแพทย์มีเวลาตรวจผู้ป่วยที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกประมาณ 10 นาที แต่การที่จะรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้ดีจะต้องให้ความรู้แก่ผู้ป่วย จะต้องประเมินความรุนแรงของโรค จะต้องสอนผู้ป่วยเกี่ยวกับการพ่นยาให้ถูกต้อง ซึ่งต้องใช้เวลามาก
คลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic)
การจัดตั้ง คลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic) เป็นวิธีการหนึ่งซึ่งจะทำให้การรักษาตาม guideline เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีหลักการดังนี้
1. ต้องทำให้การรักษาโรคหืดให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยEasy Asthma Clinic จะต้องทำง่ายแม้กระทั่งแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในรพ.ทั่วๆไปหรือรพ.ชุมชนทั่วประเทศสามารถปฏิบัติได้
2. จะต้องมีการจัดระบบที่ดีที่จะทำให้แพทย์ใช้เวลาน้อยลงในการดูแลผู้ป่วย
3. เพิ่มบทบาทของพยาบาลและเภสัชกรในการร่วมดูแลผู้ป่วย และให้ความรู้เรื่องโรคหืดและแนวทางในการรักษาโรค ความรู้เรื่องยาและวิธีการใช้ยาพ่นชนิดต่างๆ แก่ผู้ป่วย จะช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดปัญหาการไม่ใช้ยาตามแพทย์สั่ง
ขั้นตอนการทำงานของคลินิกโรคหืดแบบง่ายๆ
1. คนไข้ทุกคนจะต้องพบกับพยาบาลก่อนเพื่อลงทะเบียน และประเมินการควบคุมโรคหืดของคนไข้ โดยใช้แบบสอบถามง่ายๆ(asthma control questionnaires) (ตารางที่ 1) เสร็จแล้วก็ให้ผู้ป่วยเป่าพีคโฟว์ ( Peak Expiratory Flow Rate: PEFR)เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถเป่าได้
2. เมื่อพยาบาลประเมินเสร็จก็ส่งผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ แพทย์จะให้การรักษาตามแนวทางการรักษาที่ดัดแปลงให้ง่ายๆ กล่าวคือ เราจะไม่ต้องจำแนกผู้ป่วยตามความรุนแรงซึ่งยากแก่การจดจำ แต่จะประเมินว่าผู้ป่วยควบคุมโรคหืดได้หรือยัง (คำว่าควบคุมโรคได้หมายความว่าผู้ป่วยต้องไม่มีอาการทั้งกลางวัน และกลางคืน ต้องไม่ใช้ยาขยายหลอดลม ต้องไม่ไปห้องฉุกเฉิน และพีคโฟว์ เกิน 80%ของค่ามาตรฐาน) ถ้าผู้ป่วยยังควบคุมโรคยังไม่ได้ แพทย์ก็จะให้ยารักษาโดยให้ยาพ่นเสตียรอยด์ ขนาดปานกลาง (500-1000 μg) ไปก่อน ถ้าครั้งหน้าผู้ป่วยยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ก็ให้เพิ่มยาเข้าไป โดยยาที่จะให้เพิ่มก็มีเพียง ยา 3 ตัวคือ Long acting beta-2 agonists, theophylline และ anti-leukotrienes ถ้าควบคุมโรคได้ก็ค่อยๆลดยาลง
3. เมื่อแพทย์สั่งการรักษาเสร็จก็ส่งผู้ป่วยพบกับเภสัชเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคหืดและการรักษาโรค พร้อมทั้งสอนเรื่องการใช้ยาพ่น
4. ข้อมูลคนไข้จะถูกบันทึกในฐานข้อมูลรวมผ่านเวปไซด์
ตารางที่ 1 แบบสอบถามเพื่อการประเมินการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วย (asthma control questionnaires) โดยถามคำถามง่ายๆ 4 ข้อ
1. ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณมีอาการไอ หายใจไม่อิ่ม หรือหายใจมีเสียงดังวี้ด ในช่วงกลางวันบ้างหรือไม่
2. ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาคุณต้องลุกขึ้นมาไอ,หายใจฝืดและแน่นหน้าอก,หายใจมีเสียงวี้ดในช่วงกลางคืนบ้างหรือไม่
3. ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา คุณใช้ยาบรรเทาอาการหอบ (ยาขยายหลอดลม)บ้างหรือไม่?
4. ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา คุณเคยหอบมากจนต้องไปรับการรักษา ที่ห้องฉุกเฉิน หรือ ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้างหรือไม่บ้างหรือไม่
ผลที่ได้รับจากการจัดตั้ง Easy Asthma Clinic คือ
1. การรักษาโรคหืดในโรงพยาบาลชุมชนได้มาตรฐานระดับโลก คือมีการประเมินการควบคุมโรคหืดด้วยการถามอาการ ร่วมกับการวัดค่าPeak flow ทุกครั้ง การรักษามีการใช้ยาพ่นเสตียรอยด์ เพิ่มขึ้น มีการสอนผู้ป่วยเรื่องการใช้ยาพ่น และความรู้เรื่องโรคหืด
2. ผู้ป่วยโรคหืดจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการหอบ และไม่ต้องหอบรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินหรือนอนรับการรักษาที่โรงพยาบาล
3. มีความร่วมมือกันของทีมแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรรม ทำให้การรักษาเป็นเอกภาพ และเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทำให้ทีมมีความรู้เรื่องโรคหืดมากขึ้น และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
4. มีการบันทึกข้อมูลการรักษาอย่างเป็นระบบซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย และระบบการสาธารณสุขของประเทศไทยในอนาคต
ในปัจจุบัน Easy Asthma Clinic ได้รับความสนใจมากโดยมีสมาชิกที่เปิดดำเนินการมากกว่า 200 โรงพยาบาล และได้มีการพัฒนาโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยทำให้สามารถเก็บข้อมูลออนไลน์ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่
http://eac.mykku.net
สรุป
โรคหืดเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ถูกมองข้าม คนไข้โรคหืดในประเทศไทยจำนวนมากยังต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคเพราะไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคหืดที่ได้ผลดีแต่ไม่ได้มีการนำเอาแนวทางนี้ไปใช้อย่างแพร่หลาย โครงการจัดทำคลีนิคโรคหืดแบบง่ายๆ (Easy Asthma Clinic) น่าจะมีส่วนช่วยทำให้การรักษาโรคหืดในประเทศไทยได้ผลดียิ่งขึ้น และด้วยความร่วมมือของแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรผู้มีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้ป่วยโรคหืดหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน เชื่อว่าอีกไม่นานผู้ป่วยโรคหืดในเมืองไทยคงจะควบคุมโรคหืดได้อย่างดี






คำแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วยหอบหืด
1. หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นการแพ้ โดยเฉพาะไรฝุ่น , สัตว์เลี้ยง , เชื้อราบางชนิด , เกษรดอกไม้
2. อย่าใช้ยาชุด หรือยาลูกกลอนไทยด้วยตัวเอง เพราะมีสเตอรอยด์ผสมอยู่ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของการใช้ยาได้
3. รักษาร่างกายให้อบอุ่น พยายามอย่าให้เป็นหวัด เพราะความเย็นและไข้หวัดทำให้อาการกำเริบได้
4. หลีกเลี่ยงการใช้ยา Aspirin , ยาลดความดันในกลุ่ม Beta block เพราะอาจกระตุ้นให้อาการหอบกำเริบ เวลาพบแพทย์ด้วยโรคอื่นควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อหลีกเลี่ยงการสั่งยาเหล่านี้
5. งดการสูบบุหรี่
6. ดื่มน้ำอุ่นเป็นประจำเพื่อช่วยขับเสมหะ
7. ลดภาวะเครียดโดยการทำสมาธิ สวดมนต์ภาวนา ทำจิตใจให้สงบ เนื่องจากภาวะเครียดจะทำให้อาการกำเริบได้
8. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ถ้ามีอาการอาจใช้ยาพ่นเพื่อลดอาการหอบหืดที่เกิดขึ้น

สิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด
1. ไรฝุ่น ( เตียง ที่นอน ผ้าห่ม หมอน เฟอร์นิเจอร์ )
2. สัตว์เลี้ยง และเสื้อขนสัตว์
3. แมลงสาบ
4. เกสรดอกไม้
5. รา
6. บุหรี่
7. การติดเชื้อในทางเดินหายใจ
8. การออกกำลังกาย
9. ภาวะเครียด
10. ยาบางชนิด ยา Aspirin , ยาลดความดันในกลุ่ม Beta block
11. สารเคมี

Easy Asthma Clinic งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีสมเด็จ
เริ่มดำเนินการเมื่อวปี2546
เปิดให้บริการที่ห้องตรวจโรคเรื้อรัง ทุกวันพุธทีเวลา 08.00 น. - 16.00 น.
(ยกเว้นวันนขัตฤกษ์ที่เป็นวันหยุดราชการ)

ขั้นตอนการรับผู้ป่วยเข้าคลีนิกโรคหอบ
1. เข้าพบแพทย์ แพทย์วินิจฉัยเป็น Asthma และนัดมารับบริการที่คลีนิกโรคหอบ
2. แพทย์ ส่งพบพยาบาลประจำคลินิกหอบหืด เพื่อ ซักประวัติ ลง appendix1 1 ประเมินสภาพ ร่างกาย สมรรถภาพปอดโดยการเป่าpeak flow และเตรียมความพร้อม ด้านจิตใจ ในการรับรู้ความเจ็บป่วย การรักษา การดำเนินของโรคให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อเกิดความตระหนักในการ มาตรวจตามนัด และการสนใจตัวเองมากขึ้น.
3.ออกสมุดคู่มือการดูแลตัวเองของผู้ป่วยหอบหืดเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจการปฏิบัติตัวมากยิ่งขึ้น และเมื่อเกิดภาวะจับหืดสามารถประเมินและดูแลตัวเองได้
4.ส่งพบเจ้าหน้าที่เภสัชกรในการสอนเรื่องยาที่ใช้และการพ่นยาที่ถูกต้อง แก่ผู้ป่วยและญาติ
5. ส่งพบนักกายภาพบำบัดในการสอนเรื่องการหายใจ และการเพิ่มสมรรถภาพของปอด
6.ออกบัดนัด ให้ผู้ป่วย และแนะนำภาวะจับหอบ การพ่นยาขณะหอบที่ต้องเรียกรถพยาบาลไปรับ โดยใช้บริการ 1669
ขั้นตอนการให้บริการรายใหม่
1. ยื่นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, สิืทธิบัตรต่าง ๆ และใบนัดที่ห้องบัตรผู้รับบริการได้รับบัตรคิวและนั่งรอที่ห้องตรวจเรื้อรัง
2. ผู้รับบริการชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูง / วัดสัญญาณชีพ / ซักประวัติข้อมูลส่วนตัวและประเมินการควบคุมโรคหอบของผู้รับบริการโดยใช้แบบสอบถาม asthma control questionnaires ตามลำดับคิว
3. ทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่าย : วัด Peak Expiratory Flow Rate (PEFR) เพื่อวัดความเร็วสูงสุดที่ผู้รับบริการสามารถเป่าได้
- พยาบาลให้ความรู้เรื่องการเป่า Peak Expiratory Flow
- ผู้รับบริการเป่า Peak Expiratory Flow
4. บันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในฐานข้อมูลรวม และขึ้นทะเบียนคลีนิกโรคหอบ
5. ให้สุขศึกษารายบุคคล
6. เจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
7. พบเจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
8. รับวันนัดครั้งต่อไป
9. รับยาที่ห้องจ่ายยา
ขั้นตอนการให้บริการผู้รับบริการรายเก่า
1. ยื่นบัตรประจำตัวผู้รับบริการ, สิทธิต่างๆ และใบนัดที่ห้องบัตรผู้รับบริการได้รับบัตรคิวและนั่งรอที่ห้องตรวจโรคเรื้อรัง
2. ผู้รับบริการชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูง (ทุก 1 ปี) / วัดสัญญาณชีพ / ประเมินการควบคุมโรคหอบของผู้รับบริการ โดยใช้แบบสอบถาม asthma control questionnaires ตามลำดับคิว
3. วัด Peak Expiratory Flow Rate (PEFR)
- พยาบาลทบทวนความรู้เรื่องการเป่า Peak Expiratory Flow
- ผู้รับบริการเป่า Peak Expiratory Flow
4. บันทึกข้อมูลของผู้รับบริการในฐานข้อมูลรวม

5. ให้สุขศึกษารายบุคคล
6. เจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
7. พบเจ้าหน้าที่เรียกผู้รับบริการเข้าพบแพทย์ตามลำดับคิว
8. รับวันนัดครั้งต่อไป
9. รับยาที่ห้องจ่ายยา

Guideline การรักษาผู้ป่วย Asthma OPD Case ในการรักษาระยะยาว

ระดับ
อาการ
การรักษา
ระดับที่ 1
Mild intermittent
หอบเหนื่อยในเวลากลางวัน ≤ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์
หอบเหนื่อยในเวลากลางคืน ≤ 2 ครั้ง ต่อ เดือน

ไม่ต้องให้ยาป้องกัน
ถ้ามีอาการมาเมื่อมีสิ่งกระตุ้น ให้ Prednisolone 2 mg /Kg / day ไม่เกิน 60 mg/day 7-10 วัน
ให้ Salbutamal inhalation 2-4 puff เมื่อมีอาการ

ระดับที่ 2
Mild persistent
หอบเหนื่อยในเวลากลางวัน > 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ แต่ <> 1 คืน / สัปดาห์
Beclomethazone ( 50 µg / puff) ให้ 320 - 680 µg ( 8 -14puff )
เริ่มที่ 2 -3 puff x 4 ทุกวัน และค่อยๆ ลดdose ลงถ้าอาการดีขึ้น 1-3 เดือน
หรืออาจให้ Theophyllin SR 10 mg /Kg /day oral bid pc
( Max 800 mg / day )
ให้ Salbutamal inhalation 2-4 puff เมื่อมีอาการ

ระดับที่ 4
หอบเหนื่อยในเวลากลางวันตลอดเวลา
หอบเหนื่อยในเวลากลางคืน ≥ 1 คืน / สัปดาห์
Beclomethazone ( 50 µg / puff) ให้ 320 - 680 µg ( 8 -14puff )
เริ่มที่ 2 -3 puff x 4 ทุกวัน และค่อยๆ ลดdose ลงถ้าอาการดีขึ้น 1-3 เดือน
หรืออาจให้ Theophyllin SR 10 mg /Kg /day oral bid pc
( Max 800 mg / day )
ถ้ายังมีอาการมากให้ Pred 2 mg / Kg / day ( Max 600 mg / day )
ค่อยๆลดขนาด ถ้าควบคุมได้
ให้ Salbutamal inhalation 2-4 puff เมื่อมีอาการ

ข้อเสนอแนะ
1. การรักษาที่ได้ผลดีต้องทำคู่กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อควบคุมอาการ
2. ระดับอาการของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงได้ ให้ดูเรื่องยาของผู้ป่วยและประเมินอาการทุก 3 เดือน
3. ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืด เมื่อมีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ไม่จำเป็นที่ต้องให้ ABT ทุกราย ควรให้เมื่อมีการติดเชื้อBac เช่น มีไข้และเสมหะสีเขียว , สงสัยปอดอักเสบ , ไซนัสอักเสบ เป็นต้น
4. การให้ Salbutamal inhalation ที่บ้าน ให้พ่นได้ 2 – 4 puff เวลาที่มีอาการ หรือมีอาการมาก อาจให้พ่นได้ทุก 20 นาที ใน 1 ชม และถ้าอาการดีขึ้นให้พ่นทุก 3-4 ชม นาน /72 ชม แล้วจึงเปลี่ยนเป็นพ่นเฉพาะเมื่อมีอาการ ( การพ่นยา ไม่ควรเกิน 8-12 puff ใน 24 ชม ) ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้มาพบแพทย์
5. ผู้ป่วยที่ได้รับยา B2 agonist oral tablet เช่น salbutamal หรือ bricanyl ควรเริ่มให้ inh Beclomethazone หรือ theophyllin ก่อน แล้วจึงหยุดยา B2 agonist oral tablet ในผู้ป่วยครั้งต่อไป ( ดูตามอาการผู้ป่วย )






1 ความคิดเห็น: