วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โรคหอบหืด การรักษาและการดูแล




เครือข่ายการพัฒนาการพยาบาล และการดูแลส่งต่อ
ผู้ป่วยหอบหืด(Asthma )และผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง(COPD) จังหวัดร้อยเอ็ด



"การสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วยมีความสำคัญในการบำบัดภาวะเรื้อรัง อาทิ โรคหอบหืด และผลการสำรวจ GAPP แสดงให้เห็นว่า มีช่องทางมากมายที่จะช่วยปรับปรุงเรื่องนี้ในทุกประเทศที่เราทำการศึกษา" นายจี. วอลเตอร์ คาโนนิกา แพทย์ศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเจโนวา เมืองเจโนวา ประเทศอิตาลี จากองค์กรโรคภูมิแพ้โลกกล่าว "ผลข้างเคียงเป็นประเด็นที่เราเริ่มต้นศึกษา ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงภาวะขาดการติดต่อสื่อสารอย่างมากระหว่างแพทย์และผู้ป่วย" ในสายตาของแพทย์นั้น มีความแตกต่างระหว่างคนไข้ที่รับรู้เรื่องผลข้างเคียงตามสภาพความเป็นจริงและคนไข้ที่รับรู้เรื่องผลข้างเคียงด้วยความเข้าใจ โดยผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า เกือบ 1 ใน 3 (31%) ของผู้ป่วยกล่าวว่า พวกเขา "ไม่ทราบ" เรื่องผลข้างเคียงในระยะยาว ขณะที่แพทย์เชื่อว่าจำนวนคนไข้ที่รับรู้เรื่องผลข้างเคียงมีมากขึ้น มีแพทย์เพียง 3% เท่านั้นที่เชื่อว่าคนไข้ "ไม่ทราบ" เรื่องผลข้างเคียงในระยะสั้น และ 7% เชื่อว่าคนไข้ไม่ทราบเรื่องผลข้างเคียงในระยะยาว ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนไข้ที่ได้รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์และได้รับผลกระทบข้างเคียง 34% ของคนไข้ที่เข้ารับประทานยาตามคำสั่งแพทย์เชื่อว่าพวกเขาได้รับผลข้างเคียงระยะสั้น ซึ่งรวมถึงเชื้อราที่เกิดขึ้นในปาก เยื่อบุคอหอยอักเสบ หรือ เสียงแหบ จากการรับการรักษาโรคหอบหืด และ 19% เชื่อว่าพวกเขาได้รับผลข้างเคียงในระยะยาว คนไข้ที่ได้รับผลข้างเคียงมักให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไม่เชื่อฟังคำแนะนำของแพทย์ในการบำบัดรักษา โดยรายงานระบุว่ามีคนไข้เพียง 26% เท่านั้นที่ร้องเรียนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่มีการร้องเรียน รายงานยังระบุด้วยว่าคนไข้ที่ไม่ทำตามกฎเกณฑ์ด้านการรักษาของพวกเขาจะได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพวกเขามากขึ้น ซึ่งรวมถึงการแสดงอาการเพิ่มขึ้น (69%) และการถูกกระทบจากโรคหอบหืดถี่ขึ้นหรือหนักขึ้น (41%) ทั้งนี้ แพทย์ได้ประเมินหัวข้อที่ว่าคนไข้ของพวกยอมทำตามกฎเกณฑ์ด้านการรักษาบ่อยแค่ไหนไว้สูงเกินไป "การค้นพบเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการตอบสนองความต้องการที่ไม่เพียงพอในการรักษาโรคหอบหืด" ดร.คาร์ลอส อี.บาเอนา-คาญานี จากมหาวิทยาลัยคาทอลิกยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ คอร์โดบา เมืองคอร์โดบา ประเทศอาร์เจนติน่า ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก กล่าวว่า "ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานยารักษาโรคหอบหืดตามคำแนะนำนั้น รายงานระบุว่าโรคหอบหืดของพวกเขามีผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของพวกเขามากขึ้น ส่วนคนไข้ที่มีการศึกษาและได้รับการบำบัดรักษาที่ดีกว่าอาจกล่าวถึงบางประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาในการสำรวจครั้งนี้ และทำให้ผลการรักษาคนไข้ประเภทนี้ออกมาดีกว่า" รายงานที่ไม่ต่อเนื่องกันเกี่ยวกับจำนวนของเวลาที่ใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจากผลการสำรวจในแต่ละประเทศ ผู้ป่วยและแพทย์ได้รายงานถึงผลการประเมินที่แตกต่างกันว่า การให้ความรู้ในระหว่างที่เดินไปตามสำนักงานต่างๆนั้นใช้เวลาไปเท่าใด โดยผู้ป่วย 23% ทั่วโลกได้ประเมินว่าไม่มีเวลาในการหารือกันทางด้านเทคนิคสำหรับการจัดการเรื่องโรคหอบหืดให้ประสบความสำเร็จในระหว่างที่มีการเดินทางเยือนบริษัทต่างๆ ด้านแพทย์ 87% ประเมินว่า การเดินทางเยือนสำนักงานมากในสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งผลการศึกษาที่มีค่าอีกชิ้นหนึ่งนั้นคือ ผู้ป่วยถึงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการสำรวจไม่เคยพูดคุยเรื่องผลข้างเคียงในระยะสั้นและระยะยาวกับแพทย์ของตนเอง อย่างไรก็ตาม แพทย์จำนวนมากได้ระบุว่า พวกเขาได้พูดคุยถึงเรื่องผลข้างเคียงกับผู้ป่วยของตนเองแล้ว ผลสำรวจ GAPP ไม่เพียงแต่อธิบายหรือกำหนดขอบเขตความต้องการที่ยังไม่บรรลุผลในด้านการรักษาหอบหืด แต่ยังเปิดให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กันโดยตรงระหว่างการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยและองค์ประกอบในการรักษา โดยผู้ป่วยที่ได้พูดคุยกับแพทย์มากกว่าเกี่ยวกับเทคนิคในการรักษาโรคหอบหืดให้ประสบความสำเร็จนั้น มีผลการรักษาที่ดีและสอดคล้องกับขั้นตอนในการรักษา ผู้ป่วยและแพทย์เห็นชอบว่า มีความจำเป็นที่จะใช้การแพทย์เพื่อการรักษาหอบหืดที่ได้มีการปรับปรุงแล้วแม้ว่าการประเมินด้านการจัดการกับโรคหอบหืดจะแตกต่างกัน แต่แพทย์และผู้ป่วยก็เห็นพ้องต้องกันว่า การรักษาอาการหอบหืดในปัจจุบันยังคงเป็นไปได้น้อยกว่าที่ได้มีการคาดหวังกันไว้ในระดับสูง ในขณะที่แพทย์จำนวนมาก (95%) เชื่อว่า ICS เป็นมาตรฐานระดับทองคำสำหรับการรักษาอาการหอบหืด แพทย์ยังได้รายงานถึงความพึงพอใจอย่างน้อยที่สุดกับผลข้างเคียงที่ปรากฎอยู่ใน ICS แพทย์ 85% ระบุว่า จะสั่ง ICS รูปแบบใหม่หาก ICS มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยและความทนทาน โดยเฉพาะ ICS ใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพที่สามารถเปรียบเทียบได้และความทนทานที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้ป่วยกลุ่มย่อยที่หลากหลาย ที่ได้มีการพัฒนาเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดและได้รับผลข้างเคียงที่รุนแรงในการใช้ชีวิต เกี่ยวกับคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสำรวจ GAPP คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการสำรวจ GAPP ประกอบด้วยองค์กรมืออาชีพและกลุ่มที่สนับสนุนผู้ป่วย ดังนี้ * องค์กรโรคภูมิแพ้โลก องค์กรโรคภูมิแพ้โลก (WAO) เป็นองค์กรในระดับสากลที่ประกอบไปด้วยสมาชิกที่เป็นองค์กรด้านโรคภูมิแพ้ หอบหืด และภูมิคุ้มกันบกพร่องทางการแพทย์จากทั่วโลก ด้วยการจัดตั้งชุมชนที่ประกอบไปด้วยสมาชิก WAO ได้จัดการอบรม การบรรยาย และการสัมนาในประเทศสมาชิก 92 ประเทศ องค์กรก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2494 และได้จัดการประชุมครั้งใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ 18 ครั้ง * วิทยาลัยโรคภูมิแพ้ หอบหืด และภูมิคุ้มกันแห่งอเมริกาวิทยาลัยโรคภูมิแพ้ หอบหืด และภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งอเมริกา (ACAAI) เป็นสมาคมวิชาชีพของสหรัฐฯที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา 4,900 ราย ACAAI ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2485 มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยาผ่านการวิจัย การสนับสนุน และการให้การศึกษาแก่ประชาชน *องค์กรเครือข่ายโรคภูมิแพ้หืด/สาเหตุของโรคหืด องค์กรเครือข่ายโรคภูมิแพ้หืด/สาเหตุของโรคหืด (AANMA) ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 AANMA เป็นเครือข่ายครอบครัวในสหรัฐอเมริกาที่มุ่งมั่นจะหายจากโรคภูมิแพ้และโรคหืด แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ คณะทำงานที่ทำการสำรวจ GAPP *ไมเคิล เอส. บลาอิสส์, มหาวิทยาลัยศูนย์สุขภาพศาสตร์เทนเนสซี่ เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ สหรัฐอเมริกา ในนามวิทยาลัยโรคภูมิแพ้ หืดหอบ และภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งอเมริกk *คาร์ลอส อี. บาเอนา-คาญานิ, มหาวิทยาลัยคาทอลิคแห่งคอร์โดบา เมืองคอร์โดบา อาร์เจนตินา ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก *จี. วอลเตอร์ คาโนนิกา, มหาวิทยาลัยเจโนวา เมืองเจโนวา อิตาลี ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก *โรนัลด์ ดาห์ล, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอาร์ฮุส แผนกโรคทางเดินหายใจ, เมืองอาร์ฮุส เดนมาร์ค ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก *ไมเคิล เอ. คาลิเนอร์, สถาบันโรคหืดและภูมิแพ้ เมืองเชวี่ เชส รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก *แนนซี่ แซนเดอร์, เครือข่ายโรคภูมิแพ้และหืด/สาเหตุของโรคหืด เมืองแฟร์แฟกซ์ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา *เออร์คกา เจ. วาโลเวอร์ทา, ศูนย์โรคภูมิแพ้เทอร์คู เมืองเทอร์คู ฟินแลนด์ ในนามองค์กรโรคภูมิแพ้โลก การออกแบบการศึกษาและวิธีการศึกษา แฮร์ริส อินเตอร์แอคทีฟ (Harris Interactive) ดำเนินการสำรวจในนามของคณะกรรมการที่ปรึกษาการสำรวจ GAPP ผ่านทางอินเทอร์เน็ท ทางโทรศัพท์ และการสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า ระหว่างวันที่ 18 พ.ค.-24 ส.ค. 2548 การสำรวจทำการสัมภาษณ์บุคคลทั้งหมด 3,459 ราย (ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดทั้งหมด 1,726 ราย และคณะแพทย์ทั่วไปและเฉพาะทางที่รักษาผู้ใหญ่เหล่านั้น 1,733 ราย) ใน 16 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ แอฟริกาใต้ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา กลุ่มตัวอย่างสำหรับแต่ละประเทศเป็นผู้ป่วยและแพทย์ 100 ราย ยกเว้นในสหรัฐฯที่กลุ่มตัวอย่างของแต่ละกลุ่มมีจำนวน 200 ราย คณะแพทย์ที่ทำการสำรวจต้องมีเกณฑ์ดังต่อไปนี้: มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางการแพทย์เป็นเวลาอย่างน้อย 3-30 ปีจนถึงปัจจุบัน, พบผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่อย่างน้อย 3 รายต่อสัปดาห์, เขียนใบสั่งยาสำหรับยาหืดอย่างน้อย 1 ฉบับต่อสัปดาห์ ส่วนแพทย์ทั่วไปรวมถึงแพทย์ประจำครอบครัว แพทย์ทั่วไป แพทย์อายุรกรรม และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งรวมถึงแพทย์ภูมิแพ้วิทยา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางเดินหายใจ ข้อมูลในสหรัฐฯเป็นเพียงข้อมูลเดียวที่ได้รับการพิเคราะห์ ข้อมูลของแพทย์ถูกพิจารณาจากความสามารถเฉพาะทางของแพทย์ เพศ และประสบการณ์ที่ทำการรักษาที่จะสะท้อนถึงลักษณะของแพทย์ในประวัติของนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสมาคมทางการแพทย์อเมริกา ข้อมูลของผู้ป่วยพิจารณาจากเพศ การศึกษา อายุ ครอบครัว รายได้ และภูมิภาคที่อาศัยอยู่ที่จะสะท้อนถึงลักษณะของผู้ป่วยโรคหืดที่เป็นผู้ใหญ่จากการสัมภาษณ์เรื่องสุขภาพระดับชาติ ข้อมูลจากประเทศอื่นๆที่ทำการสำรวจไม่ได้นำมาพิจารณาด้วย เกี่ยวกับโรคหอบหืด โรคหอบหืดเป็นโรคทางปอดชนิดเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งส่งผลให้มีการกีดขวางระบบทางเดินหายใจเพื่อตอบรับกระตุ้นบางอย่าง โดยภูมิแพ้เป็นสาเหตุให้ผู้ใหญ่จำนวน 50% เป็นโรคหอบหืด บุคคลที่ประสบปัญหาภูมิแพ้บนผิวหนังมีแนวโน้มว่าบุคคลนั้นๆหรือครอบครัว จะมีความอ่อนไหวต่อโรคและสร้างไอจีอี แอนติบอดี้ต่อสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โดยบ่อยครั้งต้องเผชิญกับเชื้อภูมิแพ้มากกว่า 1 ชนิดและโรคเยื่อเมือกทางช่องจมูกอักเสบอันเป็นอาการภูมิแพ้ ด้วยอาการอันเป็นลักษณะเฉพาะซึ่งรวมทั้งการหายใจหอบ ไอ และช่องทางเดินหายใจบีบรัด ซึ่งเป็นสาเหตุของการหายใจติดขัดและสามารถทำให้ถึงแก่ความตายได้ โกลบอล อินิชิเอทีฟ ฟอร์ แอธม่า (GINA) ระบุว่า ประชาชนมากกว่า 300 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคหอบหืด ด้วยอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคหอบหืดทั่วโลกมากกว่า 180,000 รายต่อปีเกี่ยวกับแฮร์ริส อินเตอร์แอ็คทีฟ (R) แฮร์ริส อินเตอร์แอ็คทีฟ อิงค์. (Harris Interactive Inc.) (www.harrisinteractive.com) ซึ่งตั้งอยู่ที่โรเชสเตอร์ นิวยอร์ก เป็นองค์การวิจัยตลาดที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในโลกเป็นอันดับ 13 โดยเป็นที่รู้จักกันดีในแบบสำรวจเดอะ แฮร์ริส โพลล์ (R) และสำหรับความเป็นผู้นำในการบุกเบิกอุตสาหกรรมการวิจัยตลาดแบบออนไลน์ แฮร์ริส อินเตอร์แอ็คทีฟได้รับการจดจำจากลูกค้ามายาวนานสำหรับการเสนอความเข้าใจถ่องแท้อันนำมาซึ่งการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างมั่นใจ บริษัทได้ผสมผสานวิทยาศาสตร์แห่งการวิจัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เข้ากับศิลปะแห่งการให้คำปรึกษาทางกลยุทธ์เพื่อส่งตรงความรู้ที่นำไปสู่คุณค่าที่ยั่งยืนและสามารถประเมินค่าได้ แฮร์ริส อินเตอร์แอ็คทีฟให้บริการลูกค้าทั่วโลกผ่านทางสำนักงานในสหรัฐอเมริกา ยุโรป (www.harrisinteractive.com/europe) และเอเชีย รวมทั้งบริษัทย่อยโนวาทริสในปารีส ฝรั่งเศส (www.novatris.com) และผ่านทางเครือข่ายบริษัทวิจัยตลาดระดับโลกที่เป็นอิสระ ที่มา: องค์กรโรคภูมิแพ้โลก (WAO) ติดต่อ: ราเชล เพลล์, องค์กรโรคภูมิแพ้โลก +1-646-935-4137 rachel.pell@ketchum.com --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--


สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย” เปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทยตั้งเป้าสร้างดัชนีความสุข “ผู้ป่วยโรคหืด” เป็นของขวัญปีใหม่เผยเตรียม รณรงค์แพทย์ทั่วไทย ใช้แนวการรักษาใหม่ล่าสุดของโลก

องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโรคหอบหืด ได้ร่วมกันประกาศเปิดตัว “สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย – Thai Asthma Council”หรือ TAC ขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ตั้งเป้าเผยแพร่แนวการรักษาใหม่ ๆ ไปสู่แพทย์ทั่วประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดใช้ชีวิตอย่างปกติสุข เผยปัจจุบันไทยมีผู้ป่วยโรคหืดกว่า 4 ล้านคน ชี้โรคหืดรักษาให้ใช้ชีวิตปกติสุขได้ แต่หากไม่ดูแลตัวเองอย่างถูกต้องก็อาจเสียชีวิตได้
ศ.นพ. ประพาฬ ยงใจยุทธ ประธานสภาโรคหอบหืดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของราชวิทยาลัย สมาคม สถาบัน และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหืดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้มาตรฐานสากล รวมทั้งกระตุ้นให้มีการตื่นตัวต่อผลกระทบของโรค และลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม”
ศ.นพ. ประพาฬ กล่าวต่อไปว่า “การก่อตั้ง TAC จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อบุคลการทางการแพทย์ผู้เกี่ยวข้องกับการรักษาผู้ป่วยโรคหืด และผู้ป่วยหืด โดยเฉพาะในเบื้องต้นนี้ TAC จะนำแนวทางการรักษาโรคหืดใหม่จาก องค์กรด้านสุขอนามัยระดับโลกหรือ GINA (The Global Initiative for Asthma) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ประกาศกลยุทธ์ระดับโลกในการดูแลรักษาและป้องกันโรคหืดที่มุ่งการควบคุมโรคหืด ออกเผยแพร่ให้กลุ่มแพทย์และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดนำไปปฏิบัติ โดยหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้แพทย์และผู้ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดทั้งประเทศจะใช้แนวการรักษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่มีเป้าหมายการรักษา ให้ผู้ป่วยโรคหืดให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยไม่เน้นระดับอาการของผู้ป่วย เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยหืดคือ การสามารถใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไปโดยไม่มีอาการของโรคอีกต่อไป”
โดย สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย หรือ TAC จะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา แลกเปลี่ยน และเผยแพร่ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการควบคุมโรคหืดไปสู่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึง กลุ่มแพทย์และผู้มีส่วนดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืด หน่วยงานองค์กรด้านโรคหืด ผู้ป่วยโรคหืดและครอบครัว รวมทั้งประชาชนในทุกภูมิภาคทั่วประเทศไทย เพื่อให้มีการดูแลรักษาไปในทิศทางเดียวกันและยกมาตรฐานการรักษาโรคหืดไปสู่แพทย์และผู้เกี่ยวข้องในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้มีการก่อตั้ง สภาองค์กรโรคหืดของชาติขึ้นมาแล้ว อาทิ ออสเตรเลีย และมาเลเชีย
TAC เผยคนไทยร้อยละ 5 เสียชีวิตด้วยโรคหืดทุกปี ชี้ “โรคหืด” เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ วัย ในทุกช่วงอายุ
ทั้งนี้ จากรายงานการสำรวจควบคุมโรคหืดในประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยในไทยได้รับความทรมานจากการเจ็บป่วยมาก รวมทั้งมีอัตราการเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล และเข้ารักษาที่ห้องฉุกเฉินมากกว่าเมื่อเทียบกับผลสำรวจในยุโรป และของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ยังมีอัตราการป่วยและเสียชีวิตสูง ซึ่งเชื่อว่าเป็นผลมาจากการขาดการรักษาเชิงป้องกัน นอกจากนี้ยังพบว่าในรอบ 1 ปีเด็กวัยเรียนประมาณ 10-13% มีอาการจับหืด โดยร้อยละ 5 ของผู้ป่วยโรคหืดจะเสียชีวิตจากอาการของโรค
ข้อมูลสำคัญอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับโรคหืดคือ โรคหืดไม่ใช่โรคติดต่อแต่อาจจะถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานได้ ข้อสำคัญคือคนปกติที่ไม่เคยเป็นโรคหืด ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ในภายหลังหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนเอื้อต่อการเป็นโรคหืด
จำนวนผู้ป่วยโรคหืดทั่วโลกมีประมาณ 300 ล้านคน (ที่มา http://www.ipst.ac.th/ /Thai Version/publications /in_sci/asthma.html) จำนวนผู้ป่วยในประเทศไทยจากการสำรวจล่าสุด พบว่ามีผู้ใหญ่เป็นโรคหืด (ช่วงอายุ 20-44 ปี) ประมาณร้อยละ 4 - 6 % ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 4 ล้านคน ในบรรดาผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหืด โรคหืดในเด็กในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 เมื่อปี 2530 เป็นร้อยละ 13 ในปี 2540 และเป็นร้อยละ 9.5 ในเด็กอายุ 6 – 12 ปี และ 5% ในเด็กอายุ 12 – 18 ปี จากการสำรวจในปี 2548 - 2549
TAC เตรียมเผยแพร่แนวการรักษาโรคหืดล่าสุดของโลกพร้อมแนะนำ ACT แบบวัดผลการดูแล “โรคหืด”สู่ผู้ป่วย
ศ.นพ. ประพาฬ กล่าวต่อไปว่า “สภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย จะนำกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้ความรู้ กระตุ้น และรณรงค์ให้เกิดการควบคุมโรคหืดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามแนวทางการรักษาโรคหืดใหม่ล่าสุดที่ได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปทั่วโลก (GINA guideline) ไปสู่ทั้งหน่วยงานและองค์กรที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืด กลุ่มแพทย์ และผู้ป่วยโรคหืดและครอบครัวทั่วประเทศ และจะเป็นหน่วยงานงานที่เชื่อมโยงและประสานความรู้และความร่วมมือให้กับองค์กรโรคหืดทั้งหมดในประเทศไทย”
โดยในเบื้องต้นเราจะนำเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดผลการควบคุมโรคหืดของผู้ป่วยที่เรียกว่า Asthma Control Test หรือ ACT มาใช้ ซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจสภาวะของผู้ป่วยโรคหืดได้ทันที และสามารถให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยแบบประเมินผลนี้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยสามารถหาได้จากเวปไซด์ http://www.asthmacontrol.com/” ศ.นพ. ประพาฬ กล่าวในท้ายที่สุด
นอกจากนี้ TAC ยังเตรียมแผนกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยทุกคนได้รู้จักโรคหืด และมีวิธีการดูแลตัวเองไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วยโรคหืด รวมทั้งกิจกรรมเพื่อผู้ป่วยโรคหืด และครอบครัวของผู้ป่วยโรคหืด เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยหืดสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมทั้งแผนการสัมมนา ประชุม และอบรมแพทย์และผู้เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหืด เพื่อให้เกิดการดำเนินงานและการรักษาไปในแนวทางเดียวกัน อันจะทำให้การรักษาโรคหืดในประเทศไทยพัฒนาก้าวขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ สมาคมองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเบื้องต้นจากบริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ จีเอสเค ในการก่อตั้งองค์กรและการจัดกิจกรรมการสัมมนา ประชุม และอบรมแพทย์ รวมตลอดถึงกิจกรรมเพื่อผู้ป่วยโรคหืดต่าง ๆ โดยสมาคมองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ยังมีเป้าหมายที่จะจัดหาความร่วมมือเพิ่มเติมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อร่วมสร้างมาตรฐานการรักษาโรคหืดในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น
โรคหืด เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม มีผลทำให้ผนังของหลอดลมผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมาประกาศเตือนแล้วว่า โรคหืดเป็นโรคที่กำลังคุกคามประชากรทั่วโลก และส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิต การทำงาน หรือการเรียนของผู้ป่วย และเนื่องจากโรคหืดเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ จึงยิ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกควรรู้จักและให้ความสนใจ
สื่อมวลชนที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ภรณ์ธณัฐ สถิรกุล , ฐิภา จิ๋วแก้ว ที่ปรึกษาด้านประชาสัมพันธ์ บริษัท กู๊ด มอร์นิ่ง มันเดย์ จำกัด โทร. 02-953-9625 ต่อ 801 , 806 หรือ 02-953-9905 อีเมล์ gmmonday2020@gmail.com
อย่าประเมินอาการคนไข้หอบหืดต่ำไป เพราะผู้ป่วยอาจถึงตายได้
อาการกำเริบจนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เพราะในปัจจุบัน สองโรคนี้มีแนวโน้มซับซ้อนมากขึ้น คำแนะนำดังกล่าวเป็นการเปิดเผยจากรายงานเรื่อง Allergic Rhinitis and Its Impact on Asthma (ARIA) ขององค์การอนามัยโลกศ.นพ.ปกิต วิชยานนท์ นายกสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคภูมิแพ้กันมากขึ้น โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง มักจะป่วยเป็นโรคอื่นที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันร่วมด้วย เช่น หอบหืด ผื่นแพ้ทางผิวหนัง โรคภูมิแพ้ทางตา อาการแพ้ต่างๆ เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร ลมพิษ สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืดนั้น ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 60-80 มักมีโรคภูมิแพ้แฝงอยู่ ขณะเดียวกันผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ก็จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้มากกว่าคนปกติถึงสามเท่า ดังนั้นหากคนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่างๆ ดังกล่าว และรู้ถึงแนวทางป้องกันตนเองให้พ้นจากโรค ก็จะสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคสำหรับลักษณะของโรคภูมิแพ้ หืด และภูมิคุ้มกันบกพร่องว่า เป็นโรคที่เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีสาเหตุสำคัญของโรคเกิดจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม ได้แก่สารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น แมลงสาบ หญ้า มลภาวะ ควันบุหรี่ ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันซึ่งมีมลพิษมากขึ้นก็มีส่วนทำให้อาการของผู้ป่วยด้วยโรคนี้กำเริบมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนโรคหอบหืดนั้นเป็นโรคเรื้อรังที่มักเกิดตามมาหลังจากป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เนื่องจากโรคภูมิแพ้ทางจมูก ตา หืด และผื่นแพ้ทางผิวหนังมักมีความเกี่ยวพันกัน จากสถิติโดยทั่วไป ในครอบครัวที่มีบิดามารดาเป็นโรคหอบหืดทั้งคู่ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดประมาณร้อยละ 50 และถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคหอบหืดแล้ว ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ร้อยละ 25ส่วนโรคหืดนั้น อ.ปกิตกล่าวว่า เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังในหลอดลมทางเดินหายใจ พบได้กับคนทุกวัยตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่ ในประเทศไทยมีประชากรที่กำลังเป็นโรคนี้ประมาณร้อยละ 5-10 หรือเกือบ 3 ล้านคน และพบว่า มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคหืดปีละประมาณไม่ต่ำกว่าพันคน ส่วนใหญ่เป็นเพราะไปถึงมือแพทย์ช้าเนื่องจากประเมินความรุนแรงของโรคต่ำกว่าความเป็นจริงจนหลอดลมถูกอุดตันเสียแล้ว ผู้ป่วยโรคหืด มักมีอาการหอบเหนื่อยเป็นๆ หายๆ อย่างเรื้อรัง ในปัจจุบันแม้จะยังไม่มียาที่ใช้รักษาให้โรคนี้หายขาดได้ แต่ก็มียาที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ควบคุมอาการ ลดความรุนแรงและป้องกันการจับหืดรุนแรงจนอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ มีทั้งแบบยาพ่นชนิดสเตียรอยด์ และยารับประทานที่ไม่มีสเตียรอยด์ โดยยารับประทานที่ไม่มีสเตียรอยด์นั้นจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ ประสิทธิภาพในการควบคุมโรคของยาดังกล่าว สอดคล้องกับคำแนะนำล่าสุดขององค์กรด้านโรคหืด และภูมิแพ้ระดับโลก ซึ่งได้แนะนำให้ใช้ยากลุ่มนี้ในการรักษาคนไข้ที่มีอาการไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม โดยยารับประทานที่ไม่มีสเตียรอยด์นั้นเป็นทางเลือกในการควบคุมโรคให้กับคนไข้ที่มีปัญหาในการพ่นยา ต้องการหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของสเตียรอยด์ หรือเพื่อใช้ร่วมกับยาพ่นสเตียรอยด์ในกรณีที่ต้องการควบคุมอาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น"สำหรับภูมิแพ้ที่ร้ายแรงเรียกว่า อะนาไฟแล็กสิส (ANAPHYLAXIS) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันซึ่งเกิดขึ้นภายในเวลา 15-30 นาทีหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร ยา ผึ้ง ต่อ แตน และมีผลกระทบทั่วทั้งร่างกาย อาการที่พบประกอบด้วยอาการทางผิวหนัง ซึ่งพบได้มากที่สุดประมาณกว่าร้อยละ 90 ได้แก่ เป็นผื่นแดง คันตามตัว เป็นลมพิษ และอาการอื่นๆ ได้แก่ น้ำมูกไหล คัดจมูก เสียงแหบ ไอ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ท้องอืด หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะ ความดันโลหิตลดต่ำ เวียนศีรษะ เป็นลมหมดสติ ช็อก ซึ่งต้องให้การบำบัดอย่างเร่งด่วน "นายกสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย ยังได้แนะนำต่อไปอีกว่า เนื่องจากความล่าช้าในการวินิจฉัยและรักษาอาจเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมีอาการแพ้อาหาร แพ้ยา เหล็กในผึ้ง ต่อ แตน หรือมดคันไฟอย่างรุนแรง ควรแนะนำให้พกหลอดยาฉีดบรรจุอิพิเนฟริน (EPINEPHRINE) อัตราส่วน 1:1000 เพราะการตัดสินใจฉีดยานี้เข้ากล้ามเนื้อต้นขาอย่างรวดเร็วอาจจะช่วยชีวิตไว้ได้ในกรณีที่ผู้ป่วยสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงมาก่อนนี้ได้"ถึงแม้ว่าโรคภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหอบหืดนั้น ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมอาการของโรคได้ องค์กรด้านโรคหืด และภูมิแพ้ระดับโลกเชื่อว่าหากผู้ป่วยโรคหืดได้รับการบำบัดรักษาที่เหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยส่วนมากจะสามารถควบคุมอาการได้ ไม่มีปัญหาข้อจำกัดในการนอนหลับ หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ตลอดจนความบกพร่องในการทำงานของปอด และการใช้ยารักษาช่วยชีวิตแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยควรเรียนรู้ที่จะรับมือกับโรคดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของโรค ด้วยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น การซักเครื่องนอนด้วยน้ำร้อนและคลุมที่นอนเพื่อกำจัดและป้องกัน ไรฝุ่น กำจัดแมลงสาบในบ้าน ไม่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมีขนไว้ในบ้าน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหาร ยา แมลงที่ตนเองแพ้ ไม่สูบบุหรี่ รวมถึงการหลีกเลี่ยงควันธูป ควันท่อไอเสีย พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด" อ.ปกิตทิ้งท้ายสำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในวันเสาร์ที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา 12.00-15.30 น. ณ อินฟินิตี้ ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ทางสมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างบริษัท แอสตร้า เซนเนก้า (ประเทศไทย) บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) และบริษัทยูซีบี ฟาร์มา (ไทยแลนด์) ได้ร่วมกันจัดงาน “อยู่อย่างไรให้ชนะ ภูมิแพ้ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และหอบหืด” ขึ้น ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนอกจากนั้น ในปีนี้สมาคมโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทยได้รับเกียรติจากนานาประเทศ ให้เป็นผู้จัดการประชุม World Allergy Congress 2007 ในระหว่างวันที่ 2-6 ธันวาคม 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกด้วยhttp://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000074948

คณะกรรมการ พยาบาลทีมเครือข่ายดูแลผู้ป่วยหอบหืด จังหวัดร้อยเอ็ด

1. คุณ สวรรค์ รุจิชยากูร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ ประธานกรรมการ โรงพยาบาลพนมไพร
2. คุณ พรรณี วงค์อามาตย์ " รองประธาน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
3. คุณ สุวรรณา ขันทับ " กรรมการ โรงพยาบาล จังหาร
4. คุณ กัญจนา กองแสง " กรรมการ โรงพยาบาลเกษตรวิสัย
5. คุณ พรรณี แสนสีหา " กรรมการ โรงพยาบาล โพธิ์ชัย
6. คุณ ธิติพร ตรีกุล " กรรมการ โรงพยาบาลเสลภูมิ
7. คุณ ถวารินทร์ ชำนาญเอื้อ " กรรมการ โรงพยาบาลธวัชบุรี
8. คุณ สุคนธ์ ปัสสาคร " กรรมการ โรงพยาบาลปทุมรัตน์
9. คุณอรววรณ " กรรมการ โรงพยาบาล สุวรรณภูมิ
10. คุณปรีชญา ข่าขันมลี " กรรมการ โรงพยาบาล โพนทอง
11. คุณลัดดาวัลย์ " กรรมการ โรงพยาบาล จตุรพักตร์พิมาน
12. " กรรมการ โรงพยาบาล โพนทราย
13. คุณ สุภิญญา สมญา พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ เลขานุการ โรงพยาบาล ศรีสมเด็จ


งานของเครือข่ายเราที่จะทำ หลังไป นาข่าที่อุดรธานี 1-2 ตุลาคม 2552
คืองานพัฒนาไกด์ไลด์การพยาบาลและการส่งต่อผู้ป่วยหอบหืดให้มีประสิทธภาพ ตรงตามปัญหาของแต่ ละบุคคลโดยใช่งานวิจัยสนับสนุน

การใช้ผลงานวิจัยทางการพยาบาล เพื่อประกอบการทำเครื่องมือประเมินและให้ความรู้
1. การกำหนดประเด็นปัญหาทางคลินิก
1.1 ระบุประเด็นปัญหาที่สนใจทางคลินิกที่ต้องการปรับปรุง/แก้ไข ด้วยงานวิจัย พร้อมกลุ่มประชากร เด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหอบหืด มีการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้องที่พบบ่อยคือ การใช้ยาที่มากหรือน้อยเกินกว่าที่แพทย์กำหนด การเลิกรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เนื่องจากขาดความรู้ และขาดทักษะในการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพเรื่องต่าง ๆ เช่น การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่นำไปสู่อาการหอบ การจัดสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมในบ้าน การสังเกตอาการเตือนที่จะนำไปสู่อาการหอบ การบริหารการหายใจเพื่อควบ คุมอาการหอบ การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ การสอนให้เด็กมีความรู้จะช่วยให้เด็กมีทักษะในการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดปัญหา
1.2 หลักการ และเหตุผล เนื่องจากโรคหอบหืดมีปัจจัยและสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการหอบหืดได้จากหลายประการ มีผลคุกคามต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการดำรงชีวิตในสังคมของเด็กที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด เจริญเติบโตช้า ร่างกายอ่อนแอ ปัญหาการรักษาพยาบาลที่พบในผู้ป่วยโรคหอบหืดทุกวัยคือ ขาดความรู้ และทักษะในการปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพเรื่องต่าง ๆ เช่น ควบคุมอาการหอบ การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ ด้วยเหตุดังกล่าว อาจจะสรุปได้ว่า การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดด้วยการสอน และให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองนั้น จะช่วยให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตกับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งการให้ความรู้หรือคำแนะนำผู้ป่วยถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของบุคลากรทางการพยาบาล
1.3 วัตถุประสงค์ - เพื่อสร้างแนวทางในการปฏิบัติการสอนที่จะนำไปใช้จริงกับกลุ่มประชากรเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด - เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่เด็กวัยเรียนโรคหอบหืด 1.4 ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมทั้งแนวทางการประเมิน - เด็กวัยเรียนโรคหอบหืด รู้จักวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการหอบ- เด็กวัยเรียนโรคหอบหืด รู้จักวิธีป้องกัน และหลีกเลียงสิ่งกระตุ้นไม่ให้เกิดอาการหอบ- เป็นแนวทางให้แก่บุคลากรพยาบาลนำไปใช้ในหน่วยงานกับเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดแนวทางการประเมิน1. แบบสอบถามเพื่อประเมินการปฏิบัติตัว และการป้องกันเพื่อหลีกเลียงสิ่งกระตุ้น2. แบบประเมินความพึงพอใจของบุคลากรพยาบาลที่ใช้แนวปฏิบัติในหน่วยงาน2. แนวทางการสืบค้นงานวิจัยจากฐานข้อมูลสารสนเทศ
2.1 คำสำคัญ PICO P = School age child with Asthma I = teaching C = - O = Knowledge and skill for self-care management 2.2 ฐานข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้น ทำการสืบค้นหลักฐานอ้างอิงจากแหล่งข้อมูล Electronic Database เช่น CINALH, Cochrane, OVID, Pub-Medและจาก Hand search 2.4 สรุปงานวิจัยที่สืบค้นได้ งานวิจัยที่สืบค้นมาได้ 3 เรื่องคือ- ผลของการให้ความรู้ในเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัว- A Randomized, Controlled Trial of an Interactive Educational Computer Package Children with Asthma- Effects of a self – management educational program for the control of childhood asthma 3. การวิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินคุณภาพงานวิจัย • ผลของการให้ความรู้ในเด็กวัยเรียนโรคหอบหืดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัว ชื่อเรื่อง บอกถึงรูปแบบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่สำคัญในการวิจัยไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด และตัวแปรที่สำคัญในการวิจัยคือผลของการให้ความรู้เด็กวัยเรียนโรคหอบหืดต่อความรู้ และการปฏิบัติตัว ไม่ได้ระบุปัญหาของการวิจัยไว้ชัดเจน แต่มีสมมติฐานของการวิจัยได้ระบุชัดเจนว่าหลังจากเด็กได้รับความรู้ มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด และการปฏิบัติตัวสูงกว่าก่อนได้รับความรู้ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้ออำนวยและปัจจัยส่งเสริมการปฏิบัติตัวของเด็ก เนื่องจากข้อมูลที่นำมาศึกษามีความจำกัด วัตถุประสงค์มีความสอดคล้องตัวแปรและสมมติฐาน ผู้วิจัยไม่ได้ระบุกรอบแนวคิดไว้ที่ชัด แต่ผู้วิจัยได้ดัดแปลงมโนทัศน์ของ กรีน (Green) มาเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล มีการบันทึกเป็นขั้นตอน พร้อมระบุเครื่องมือ และแผนการสอนรายละเอียด สถิติที่ใช้มีความเหมาะสม ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีการนำเสนอผลการวิจัยในรูปของการอธิบายชัดเจน ผลการวิจัย สามารถตอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ • A Randomized, Controlled Trial of an Interactive Educational Computer Package Children With Asthma ชื่อเรื่องบอกรูปแบบการวิจัย และกลุ่มประชากร ไม่ได้บอกถึงสมมติฐานที่ชัดเจนแต่ทราบได้จากวัตถุประสงค์ บอกถึงเครื่องมือและวิธีการวัดที่ชัดเจน การแบ่งกลุ่มตัวอย่างเหมาะสม สถิติที่ใช้มีความเหมาะสมแล้ว ผลการวิจัยตอบสมมติฐาน แหล่งอ้างอิงเป็น primary source แหล่งตีพิมพ์น่าเชื่อถือ • Effects of a self – management educational program for the control of childhood asthma ชื่อเรื่องบอกรูปแบบการวิจัย และกลุ่มประชากร ไม่ได้บอกถึงสมมติฐานที่ชัดเจนแต่ทราบได้จากวัตถุประสงค์ บอกถึงเครื่องมือและวิธีการวัดที่ชัดเจน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างน้อยเกินไป สถิติที่ใช้มีความเหมาะสมแล้ว ผลการวิจัยตอบสมมติฐาน แหล่งอ้างอิงเป็น primary source แหล่งตีพิมพ์น่าเชื่อถือ

4. การสังเคราะห์งานวิจัย
ชื่อผู้วิจัย / วารสาร / ปีพิมพ์
วัตถุประสงค์
ระเบียบวิธีวิจัย/ระดับงานวิจัย
แหล่งที่ทำ/กลุ่มตัวอย่าง
การปฏิบัติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
สรุปผลการวิจัย
การประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
ทัศนียา วังสะจันทานนท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยา ลัยมหิดล 2536
1. เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคหอบ หืดของเด็กวัยเรียนก่อน และหลังการให้ความรู้2. เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตัวของเด็กวัยเรียน ก่อน และหลังการให้ความรู้3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวเด็กวัยเรียนโรคหอบหืด
เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – Experimental Research)ระดับ III one group pretest posttest design
เด็กวัยเรียนที่เป็นโรคหอบหืด อายุ 7-12 ปี ไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และระดับความรุนแรงของโรค จำนวน 30 ราย ทำเป็น one-group pre-posttest design
ให้ความรู้ตามแผนการสอนแก่เด็ก กลุ่มละ 5-7 คน สอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (3 สัปดาห์) ครั้งที่ 1 สอนเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรค และสาธิตฝึกบริหารการหายใจ ครั้งที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการหอบ สอนเรื่องการใช้ยา และการปฏิบัติตัวครั้งที่ 3 ทบทวนการบริหารการหายใจ สาธิตและฝึกการคลายกล้ามเนื้อ และสอนวิธีการขับเสมหะ สรุปเนื้อหาทั้งหมดและให้สอบถามข้อสงสัย หลังจากนั้นอีก 4 สัปดาห์จึงมาประเมินผล
1. แผนการสอนเด็กโรคหอบหืด เป็นแบบวัดการให้ความรู้แก่เด็ก2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์3 ชุดคือ2.1. แบบสัมภาษณ์ข้อ มูลส่วนบุคคล2.2. แบบสัมภาษณ์ความรู้เกี่ยวกับโรค 2.3. แบบสัมภาษณ์การปฏิบัติตัว
• ค่าเฉลี่ยของการ ปฏิบัติตัว ก่อนทดลอง 20.933• ค่า SD ของการปฏิบัติตัวก่อนทดลอง 3.648• ค่าเฉลี่ยของการปฏิบัติตัว หลังการทดลอง 30.600• ค่า SD ของการปฏิบัติตัว หลังการทดลอง 2.634
- เวลาที่ใช้ในการวิจัยสั้นไปอาจศึกษาเป็นระยะ ทุก 3-6 เดือน หรือ 1ปี หลังการสอน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง หรือศึกษาตัวแปรตาม- วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีที่ดี สะดวกในการติดตามมีความเหมาะสม
Amy C. McPherson, Christine Glazebrook, Debra Forster, Claire James, Alan Smith, 2006
เพื่อศึกษาผลของ Program การให้ความรู้ในการดูแลตนเอง และควบคุมโรคหอบหืดในเด็ก
RCT ระดับ II
An office setting in Venezuela กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กจำนวน 29 คน อายุระหว่าง 6– 14 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลอง จำนวน 17 คน และ กลุ่มควบคุมจำนวน 12 คนโดยการสุ่มเข้ากลุ่ม
1)กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำทั่วไปในการดูแลรักษาตาม ปกติ -แจก Booklet by mail หลังจากนั้น 1 เดือนติดตามอีกครั้ง 2)กลุ่มทดลองให้ทำ Interactive computer game with a secret-agent theme- แบ่งเป็น 8 ส่วน ส่วนที่ 1-3 เป็นการเรื่องความรู้เบื้องต้นของโรคหอบหืด4-6 เป็นเรื่องself – management7-8 เป็นการทำ role play- มีการบรรยาย ให้เด็กตอบคำถามและทดลองแก้ปัญหา- การให้คำแนะนำจะขึ้นอยู่กับคะแนนที่เด็กทำได้ ใช้เวลาในการทดสอบความรู้ 90นาที / ครั้ง- แจก Booklet หลังจากทำ posttest ไปแล้ว 1 เดือน
1. แบบสอบถามความ รู้เกี่ยวกับอาการและการดูแลตนเองของผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดจำนวน 33 ข้อ2. แบบสอบถามความ สามารถในการดูแล ตนเองเมื่อมีอาการหอบ
Pretest knowledge score - Control Group 17.47 (3.81)- Computer Group 19.0 (3.98)Posttest knowledge score - Control Group 1.55 (0.64 to 2.48)- Computer Group 3.97 (3.02 to 4.92)
วิธีการสอนโดยใช้ โปรแกรม Computer นำไปใช้ได้ยากเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง มีข้อจำกัดในการใช้กับกลุ่มประชากรในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Maria Gabriela Perez, Lya Feldman, Fernan Caballero / Patient Education and Counseling 36 (1999) 47 – 55
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลตนเอง และควบคุมโรคหอบหืดในเด็ก
RCT ( II)
กลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นเด็ก จำนวน 29 และผู้ปกครอง 43 คน(drop out 14)ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหอบหืด ระดับ mild-severe อายุระหว่าง 6-14 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่าง ทำใน office setting in Venezuela
-กลุ่มประชากรมีการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เด็กทุกคนที่เข้ากลุ่มจะได้รับยา Theophylline, inhaled corticosteroids และ Bronchodilators แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 17 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน มีการแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม ตามอายุ และประสบการณ์ และได้จัดโปรแกรมในการให้ความรู้ ดังนี้1. โปรแกรมสำหรับผู้ปกครอง2. โปรแกรมสำหรับเด็กในกลุ่มควบคุมมีการดูแลตามปกติ
-Children’s structured interview(แบบสัมภาษณ์จำนวน 33 ข้อ ประเมินความรู้ของเด็กเกี่ยวกับอาการและอาการแสดง,อาการนำ และการจัดการอาการหอบ- Children’s asthma self management index แบ่งเป็น 3 sub-indexsมี 19 items เนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกัน,อาการนำ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -Checklist ปัญหาพฤติกรรม-Asthma problem behavior checklist-Morbidity index-Program evaluation sheet for children-Parents’ structured interview-asthma management index- Parents’ knowledge questionnaire-informative brochure evaluation sheet for parents-Program evaluation sheet for parents
-ผลของโปรแกรมการให้ความรู้วัดจาก children self ,s report พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนน posttest สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p value<> 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ แต่ <> 1 คืน / สัปดาห์
Beclomethazone ( 50 µg / puff) ให้ 320 - 680 µg ( 8 -14puff )
เริ่มที่ 2 -3 puff x 4 ทุกวัน และค่อยๆ ลดdose ลงถ้าอาการดีขึ้น 1-3 เดือน
หรืออาจให้ Theophyllin SR 10 mg /Kg /day oral bid pc ( Max 800 mg / day )
ให้ Salbutamal inhalation 2-4 puff เมื่อมีอาการ
ระดับที่ 4
หอบเหนื่อยในเวลากลางวันตลอดเวลา
หอบเหนื่อยในเวลากลางคืน ≥ 1 คืน / สัปดาห์
Beclomethazone ( 50 µg / puff) ให้ 320 - 680 µg ( 8 -14puff )
เริ่มที่ 2 -3 puff x 4 ทุกวัน และค่อยๆ ลดdose ลงถ้าอาการดีขึ้น 1-3 เดือน
หรืออาจให้ Theophyllin SR 10 mg /Kg /day oral bid pc
( Max 800 mg / day )
ถ้ายังมีอาการมากให้ Pred 2 mg / Kg / day ( Max 600 mg / day ) ค่อยๆลดขนาด ถ้าควบคุมได้
ให้ Salbutamal inhalation 2-4 puff เมื่อมีอาการ

1 ความคิดเห็น:

  1. ให้แต่ละดรงพยาบาลประเมินความรุ้คนไข้และสร้างเครื่องมือในการให้ความรู้ตามงานที่ได้รับมอบหมายของแต่ละดรงพยาบาลนะค่ะ
    ผุ้ดูแลweb oa 082-8557935 asthma_roiet@yahoo.com

    ตอบลบ